ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา


การจัดตั้งสถาบัน  

          มาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา   พ.ศ. ๒๕๕๑  กำหนดให้ “สถานศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมกันเป็นสถาบันได้ การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาให้กระทำได้โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคำนึงถึงการประสาน    ความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง...

          ต่อมาคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) (ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการ) ได้ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การรวมและการแยกสถานศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ตามมาตรา ๑๓ โดยมีหลักการสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้

๑. ความเป็นเลิศในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยมีกระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มผลผลิตและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ได้ระดับมาตรฐานสากล

๒. การกระจายอำนาจไปสู่ระดับปฏิบัติ เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในทุกระดับ มีคุณภาพและประสิทธิภาพเกิดผลสำเร็จแก่ประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา

๓. ตอบสนองความต้องการการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับเทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

๔. การประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีชั้นสูง จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพของการจัดการอาชีวศึกษา

๕. การประกันคุณภาพและการกำกับมาตรฐาน ตามมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากล

          จากประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้ทำการประเมินสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อเข้าร่วมจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา มาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ จนสามารถเสนอร่างกฎกระทรวงการร่วมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ...ผ่านคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ (สมัยนายวรวัจจน์ เอื้อภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และประกาศกฎกระทรวงฯ ในราชกิจจานุเบกษา ได้ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ (ศ.ดร.สุชาติ  ธาราดำรงเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

สถานะและวัตถุประสงค์ของสถาบันการอาชีวศึกษา

          สถาบันการอาชีวศึกษา ๑๙ สถาบัน เกิดจากการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา ๑๖๑ แห่ง ตามกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๕๖ ก หน้า ๑๘ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ เป็นไปตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ สถาบันการอาชีวศึกษามีสถานะตามมาตรา ๑๕ และ ๑๖ ดังนี้

          มาตรา ๑๕ ให้สถาบันการอาชีวศึกษาตามาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา...

       มาตรา ๑๖ ให้สถาบันตามาตรา ๑๕ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่ชำนาญการปฏิบัติ การสอน การวิจัย การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม

          “เมื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาแล้ว จะสามารถจัดการอาชีวศึกษาได้จนถึงระดับปริญญาตรี      ที่เรียกว่าระบบ ๓-๒-๒ คือ ปวช.- ปวส. –ปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

การบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษา

          มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า สถาบันอาจแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน (๒) วิทยาลัย (๓) สำนัก (๔) ศูนย์ สถาบันอาจให้มีส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๑๖ เป็นส่วนราชการของสถาบันอีกก็ได้...

อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสภาสถาบัน

          มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสภาสถาบันฯ ดังนี้

          ๑.  อนุมัติแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของชาติ

        ๒.  ออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของสถาบันเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบัน

          ๓.  พิจารณาการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษาตามมาตรา ๑๗ รวมทั้งการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนราชการดังกล่าว

          ๔.  อนุมัติการรับสถานศึกษาอื่น หรือสถานประกอบการเข้าสมทบ หรือยกเลิกการสมทบของสถานศึกษา หรือสถานประกอบการดังกล่าว

          ๕.  พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาของสถาบันให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด

          ๖.  อนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและประกาศนียบัตรวิชาชีพ

๗.  พิจารณาและให้ความเห็นชอบในการเข้าดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัย ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพกับสถานประกอบการหรือภาคเอกชนตามมาตรา ๕๓

          ๘.  กำกับมาตรฐานการศึกษา ควบคุมคุณภาพ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถาบันให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาทุกระดับ

          ๙.  พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์และศาสตราจารย์พิเศษ

          ๑๐.  พิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรี เพื่อแต่งตั้ง หรือถอดถอนผู้อำนวยการสถาบัน

          ๑๑.  แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้อำนวยการสถาบัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน และอาจารย์พิเศษ

          ๑๒. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อพิจารณาหรือเสนอความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของสภาสถาบัน

          ๑๓.  กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดหารายได้ ออกข้อบังคับและวางระเบียบเกี่ยวกับการบริหารการเงินและทรัพย์สินของสถาบัน

          ๑๔.  ให้ความเห็นชอบในการกำหนดตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของสถาบัน

          ๑๕.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันที่มิได้ระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ

โครงสร้างการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษา

          ในระยะเริ่มต้น ๑-๒ ปี สถาบันการอาชีวศึกษา แบ่งส่วนราชการ ดังนี้

อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการสถาบัน

          มาตรา ๓๑แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดอำนาจและหน้าที่ ผอ.สถาบันฯ ดังนี้

          ๑. บริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของทาง

ราชการและขอสถาบัน จรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถาบัน

          ๒. ควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของทางราชการและของสถาบัน

          ๓.  จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนพัฒนาสถาบัน งบประมาณประจำปี และตลอดจนติดตามการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบัน

          ๔.  เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของสถาบันต่อสภาสถาบัน

          ๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของทางราชการและของสถาบัน หรือตามที่สภาสถาบันมอบหมาย

การพัฒนาหลักสูตรของสถาบันการอาชีวศึกษา 

          หลักสูตรปริญญาตรีที่สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ และหน่วยศึกษานิเทศก์ ได้จัดทำ คอศ. ๑ แล้วในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีดังนี้

ปฏิญญาสถาบันการอาชีวศึกษา ที่รมช.ลงนามเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕

ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร


ประกาศ 

ปฏิญญา ๒๕๕๕ สถาบันการอาชีวศึกษา

          พวกเราชาวอาชีวศึกษาขอร่วมประกาศปฏิญญาว่า พวกเราจะมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ยึดหลักธรรมาภิบาล ยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้น เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ผลักดันให้สถาบันการอาชีวศึกษาเป็นสถาบันหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของสถาบันการอาชีวศึกษาที่ระบุว่า สถาบันการอาชีวศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่ชำนาญการปฏิบัติ การสอน การวิจัย     การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม

ที่ตั้งและผู้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันชั่วคราว ระยะแรก ๑๘๐ วัน

 

JPEG Image ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 201.25 KB